เปลี่ยน PR เดิมๆ เป็น Digital PR สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้แข็งแรงยุคดิจิทัล

เปลี่ยน PR เดิมๆ เป็น Digital PR สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้แข็งแรงยุคดิจิทัล

หลายคนอาจยังสงสัยว่า Digital PR คืออะไร แล้วมันจะแตกต่างไปจาก พีอาร์แบบเดิมๆ (Traditional PR) ที่เราทำมาในช่วงหลายสิบปีนั้นอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นการ Disrupt ของเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลต่อหลายๆ ธุรกิจ อย่างมาก ไม่พ้น วงการสื่อสารมวลชน ที่สื่อสิ่งพิมพ์มีการทยอยปิดตัวลง และมุ่งหน้าไปสู่การทำคอนเทนท์ในรูปแบบดิจิทัลกันเป็นจำนวนมาก และสิ่งนี้นี่เอง ที่ทำให้วงการพีอาร์ ก็ต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสื่อที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

แล้ว Digital PR มันคืออะไรล่ะ?

Digital PR เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์โดยใช้เครื่องมือสมัยใหม่ ทั้งสื่อออฟไลน์ และออนไลน์ เช่น การใช้ Search Engine Optimization, Content Marketing, Influencer Outreach และ Social Media รวมถึงปรับเปลี่ยนวีธีการนำเสนอที่สอดคล้องกับ Customer Insight มากขึ้นเพื่อให้แน่ใจได้ว่า การสื่อสารนั้นจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด รวมถึงการนำเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยให้การดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์นั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น Social listening, Media Monitoring, Crisis alert

Content is the king ยังใช้ได้กับงานพีอาร์เสมอ

สำหรับหัวใจสำคัญนั้น นักประชาสัมพันธ์ทุกคนก็คงจะรู้กันดีว่า เป้าหมายสำคัญของการทำพีอาร์คือการมุ่งที่จะสร้างการรับรู้เชิงบวกของแบรนด์ให้กับสาธารณชน ผ่านการเล่าเรื่อง (Story telling) นั่นก็หมายความว่า เนื้อหา หรือคอนเทนท์ ยังสำคัญ และเป็นหัวใจของการทำประชาสัมพันธ์เสมอ การสร้างสรรค์เนื้อหาที่แปลกใหม่ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นโจทย์หนึ่ง ที่พีอาร์ ยุคดิจิทัล ต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เพราะว่าไม่สามารถผลิตคอนเทนท์ชิ้นเดียว แล้วส่งเผยแพร่ให้กับสื่อทุกประเภททุกแขนงได้อีกแล้ว แต่ต้องกลับมาโฟกัสกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาคอนเทนท์ให้สอดคล้อง และเลือกเผยแพร่ใส่สื่อที่ใช่ การประชาสัมพันธ์นั้นๆ จึงจะเกิดประสิทธิภาพ

Content ที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นตัวหนังสือ

การทำประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิม (Traditional PR) เราคงเคยชินกับการเขียน Press Release และส่งเผยแพร่ให้กับสื่อมวลชนช่วยกระจ่ายข่าว แต่เมื่อต้องอยู่ในยุคดิจิทัลแล้ว พีอาร์ควรมองให้รอบด้านเพื่อที่จะพัฒนาคอนเทนท์ที่ตอบโจทย์กับสื่อนั้นๆให้มากที่สุด รวมถึงการพัฒนาช่องทางสื่อของตนเองให้แข็งแรงด้วย และคอนเทนท์ก็ไม่จำเป็นต้อนเป็นตัวหนังสือเสมอไป เพราะสามารถที่จะผลิตออกมาให้รูปแบบต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ในรูปแบบของวีดีโอ คลิปเสียง หรืออินโฟกราฟิก เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับคอนเทนท์นั้นๆ มากยิ่งขึ้นด้วย

สร้างเครือข่าย Influencer เพื่อการกระจายข่าวในวงกว้าง

Influencer ในระยะหลังนี้เราเริ่มได้ยินคำนี้ทั้งในวงการพีอาร์ และการตลาด เพราะว่า Influencer เข้ามาเล่นบทสื่อกลางระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคแทนสื่อหลักอย่างหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือโทรทัศน์ ที่เคยมีอิทธิพลมากเมื่อในอดีต การสร้างเครือข่ายของ Influencer นั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้ว Influencer เหล่านี้มักมีผู้ติดตามจำนวนมากบนโซเชียลมีเดีย หรือไม่ก็เป็นบล็อกเกอร์ชื่อดังในชุมชนออนไลน์ ซึ่งไอเดียในการทำให้ Influencer เหล่านี้พูดถึง หรือแชร์เรื่องราวของคุณจะช่วยให้ข้อความที่คุณต้องการส่งเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอย่างทั่วถึง

จุดที่ยากสำหรับการใช้ Influencer อาจเป็นเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์กับพวกเขา ซึ่งจะแตกต่างจากการสร้างความสัมพันธ์กับสื่อในรูปแบบเดิมๆ โดยอาจใช้วิธีมอบประสบการณ์ในการใช้งาน หรือข้อเสนอพิเศษต่างๆ ให้

ประเมินผล Digital PR ต้องมีมากกว่า PR Value

แน่นอนว่าเมื่อทำพีอาร์แล้ว สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องพูดถึงคือ การประเมินผลของการประชาสัมพันธ์ หากมองพีอาร์แบบดั้งเดิม (Traditional PR) แล้ว เราคงจะนึกถึงการประเมินผลด้วยการคำนวน PR Value ที่จะเกิดขึ้นจากการเผยแพร่ข่าวในแต่ละครั้ง แต่การประเมินผลแบบ Digital PR นั้น คงต้องประเมินผลในหลายมิติมากยิ่งขึ้น ทั้งการประเมินผลจาก engagement, ยอดไลก์, ยอดแชร์ และการถูกพูดถึงในช่องทางโซเชียลต่างๆ ซึ่งก็จำเป็นที่จะต้องนำเครื่องมือ Monitoring เข้ามาใช้ในการประเมิลผล จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่

สรุปได้ว่า Digital PR นั้นก็คือการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการสื่อสารโดยใช้เครื่องมือดิจิทัล สร้างสรรค์คอนเทนท์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และเผยแพร่ไปยังสื่อที่ใช่ หรือการพัฒนาสื่อของตนเองให้แข็งแรง เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถสร้างการรับรู้แบรนด์ในเชิงบวก สร้างความน่าเชื่อถือ และคุณค่าของแบรนด์ต่อผู้บริโภคได้

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn